top of page

ข้อบังคับสมาคมศิษย์เก่าปิยะมหาราชาลัย

*******************************************

หมวดที่ 1

ข้อความทั่วไป

ข้อ 1    สมาคมนี้ขื่อว่า “สมาคมศิษย์เก่าปิยะมหาราชาลัย” โดยเรียกชื่อย่อว่า ส.ศ.ป.ย.

          มีชื่อภาษาอังกฤษว่า PIYAMAHARACHALAI  SCHOOL  ALUMNI  ASSOCIATION.

          ใช้อักษรย่อว่า  P.Y.A.A.

ข้อ 2    ที่ตั้งสมาคม และเครื่องหมายสมาคม

          สมาคมตั้งที่อาคารสมาคมศิษยเก่าปิยะมหาราชาลัยโรเงเรียนปิยะมหราชาลัย เลขที่ 42

          ถนนปิยะมหาราชาลัย  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองนครพนม  จังหวัดนครพนม 48000

          เครื่องหมายสมาคม มีลักษณะเป็นรูป ด้านล่างนี้

ลักษณะ

เป็นรูปมหามงกุฎ  ครอบหมายเลข 5 และตัวอักษร ส.ศ.ป.ย.

ความหมาย

มงกุฎ   เครื่องสวมพระเศียร  องค์กษัตริย์  ประจงจัด  ไว้แทนองค์  พระทรงศรี อยู่สูงสุด  เพื่อเทิดทูน  บุญบารมี 

          ชุบชีวี  เด็กไทย  ได้พากเพียร

เลขห้า  แทนจักรีวงศ์   องค์ที่ห้า  พระปิยะมหาราชาลัย  องค์เหนือเศียร

หมวดที่ 2

วัตถุประสงค์ของสมาคม

ข้อ 3    วัตถุประสงค์ของสมาคม

          (1)  เพื่อส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพ  การดำเนินงานและกิจกรรม การจัดการศึกษา ศิลปะและ

วัฒนธรรม ในฐานะองค์กรเครือข่ายโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

          (2)  เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นหรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับครู นักเรียน นักศึกษา

          (3)  เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ เอกสาร ข่าวสารของสมาคมฯ เกียรติคุณของโรงเรียนและศิษย์ โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย และของทางราชการหรืออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิก

          (4)  เพื่อส่งเสริมมิตรภาพระหว่างสมาชิกและสวัสดิการของสมาชิก

          (5)  เพื่อสงเคราะห์สมาชิกตามกำลังโดยวิธีที่สมาคมพึงสงเคราะห์ได้

          (6)  เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และการกุศลทั่วไป

          (7)  เพื่อจัดหาทุนดำเนินงานและกิจกรรม ตามวัตถุประสงค์ ข้อ 3 (1) – (6)

 

หมวดที่ 3

สมาชิก

ข้อ 4    สมาชิกของสมาคม มี 3 ประเภท คือ

          (1)  สมาชิกสามัญ  ได้แก่  บุคคลที่ได้ผ่านการศึกษาจากโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย หรือผู้ที่ได้ให้การศึกษา

แก่นักเรียนในโรงเรียน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนนี้

          (2)  สมาชิกวิสามัญ  ได้แก่  บุคคลที่มีเจตนาสมัครใจเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม  แต่มิได้มีคุณสมบัติ

ตามข้อ 12 (1) และคณะกรรมการบริหาร มีมติเอกฉันท์ให้รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

          (3)  สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลที่คณะกรรมการบริหารสมาคมเชิญเป็นผู้อุปถัมภ์ หรือเป็นเกียรติ

แก่สมาคม หรือเป็นกรรมการที่ปรึกษาโดยมติเอกฉันท์

 

หมวดที่ 4

การเข้าเป็นสมาชิก

ข้อ 5    การเข้าเป็นสมาชิกให้ยื่นใบสมัครต่อเลขานุการ โดยมีสมาชิกของสมาคมรับรอง 1 นาย พร้อมด้วยเงิน

ค่าสมัครและค่าบำรุงและให้เลขานุการประกาศนาม ที่อยู่และอาชีพของผู้ที่สมาคมรับเข้าเป็นสมาชิกไว้ ณ สำนักงาน

ของสมาคม หลังจากที่คณะกรรมการอำนวยการรับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว

ข้อ 6    ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องเสียค่าสมัครเว้นแต่สมาชิก ตามข้อ 4(3) ตามประเภท  ดังนี้ (เงินค่าสมัครเป็นสมัครย่อมเป็นของสมาคม จะเรียกร้องคืนมิได้)

          (1)  สมาชิกสามัญ         10      บาท

          (2)  สมาชิกวิสามัญ        100     บาท

ข้อ 7    ผู้ขาดสมาชิกภาพตามข้อ 12 (2),(3) หากประสงค์เข้าเป็นสมาชิกให้เสียเฉพาะค่าบำรุงย้อนหลังตลอดระยะเวลาที่ขาดสมาชิกภาพ

 

หมวดที่ 5

สิทธิของสมาชิก

ข้อ 8    สิทธิของสมาชิกสามัญ

          (1)  เข้าร่วมประชุมใหญ่ เข้าร่วมประชุมเฉพาะกิจตามที่สมาคมจัด

          (2)  ออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่

          (3)  สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหาร

          (4)  รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนสมาคมจากนายกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกเพื่อดำเนินการอย่างใด

อย่างหนึ่งภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคมในนามของสมาคม

          (5)  แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกิจการของสมาคมเพื่อพัฒนาสมาคม

หรือแก้ไขปัญหาของสมาคม

          (6)  รับสวัสดิการ รับบริการ หรือผลประโยชน์อื่นที่สมาคมพึงมีให้

          (7)  รับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการต่างๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสมาคมตามมติของกรรมการบริหาร

 

หมวดที่ 6

เงินบำรุงสมาคม

ข้อ 9    สมาชิกต้องเสียค่าบำรุง ปีละ 10 บาท เว้นแต่สมาชิกตามข้อ 4 (3)

ข้อ 10  สมาชิกตลอดชีพ เสียค่าบำรุงการศึกษาคราวเดียว 200 บาท

ข้อ 11  เงินรายได้จากการเข้าเป็นสมาชิก ย่อมเป็นของสมาคมจะเรียกร้องคืนมิได้

 

หมวดที่ 7

การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิก

ข้อ 12  สมาชิกภาพของสมาชิก  สิ้นสุดลงด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้

          (1)  ตาย

          (2)  ลาออก

          (3)  ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม

          (4)  ประพฤติตนให้เป็นที่เสื่อมเสียร้ายแรงแก่สมาคม และที่ประชุมใหญ่มีมติ 2 ใน 3 เห็นสมควรให้ขาด    จากสมาชิกภาพ

ข้อ 13  ให้นายทะเบียนจำหน่วยชื่อผู้ขาดจากสมาคมตามข้อ 12 ออกจากทะเบียนโดยประกาศชื่อผู้นั้นไว้ ณ ที่ทำการสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน

 

หมวดที่ 8

การบริหารสมาคม

 

ข้อ 14  ให้มีคณะกรรมการบริหารสมาคม จำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน แต่ไม่เกิน 25 คน ประกอบด้วย นายกหนึ่งคนและกรรมการที่เหลือมาจากการเลือกตั้งในที่ประชุมไม่น้อยกว่า 14 คน ให้เลือกจากสมาชิกสามัญยกเว้นตำแหน่งเลขานุการสมาคม ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นโดยตำแหน่ง ตำแหน่งต่างๆ ของกรรมการบริหารในสมาคมให้มี

อุปนายก เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ นายทะเบียน ผู้ช่วยนายทะเบียน เหรัญญิก ผู้ช่วยเหรัญญิก ปฏิคม ผู้ช่วยปฏิคม ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมและนันทนาการ ตำแหน่งนอกจากนั้นให้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้กำหนดตามความเหมาะสมและความจำเป็น

ข้อ 15  ให้คณะกรรมการบริหาร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม และ

          (1) จัดให้มีการแสดงปาฐกถา การอภิปราย การสัมมนา การประชุมทางวิชาการ

          (2) ติดต่อประสานงานกับสถาบันอื่น ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการมัธยมศึกษา หรือการศึกษาระดับอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกันทั้งในและนอกประเทศ

          (3) จัดทำเอกสาร ข่าวสาร เพื่อเผยแพร่แก่สมาชิก และบุคคลที่สมาคมเห็นสมควร

          (4) จัดให้มีที่อาศัย เครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นแก่ชีวิตเพื่อเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกตามสมควร

          (5) จัดกิจกรรมหาเงินและทรัพยากรเพื่อพัฒนาสมาคม

          (6) จัดให้สมาชิกไปทัศนศึกษา ดูงาน เพื่อเป็นสวัสดิการหรือเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานตำแหน่งหน้าที่ หรือเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาของโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

          (7) จัดให้มีกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม หรือบำเพ็ญสาธารณกุศล

          (8) จัดให้มีวิจัยภายในขอบวัตถุประสงค์ของสมาคม และเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกหรือสมาคม

          (9) จัดให้มีการสังสรรค์ร่วมกันหรือเดินทางไปดูงานหรือทัศนศึกษาร่วมกันทั้งในและนอกประเทศเพื่อส่งเสริมมิตรภาพในหมู่สมาชิก

          (10) จัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกหรือสมาคมตามที่เห็นสมควร

ข้อ 16  ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสมาคม และให้มีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของสมาคม

ข้อ 17  ให้นายกสมาคมแต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่ได้ตามความในข้อ 14 และประธานในการพิจารณาดำเนินงานของสมาคม

ข้อ 18  อุปนายก หน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสมาคมในเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

ข้อ 19  เลขานุการสมาคมฯ  หน้าที่  เลขานุการ มีหน้าที่

          (1) รับผิดชอบในกิจการทั้งปวงในสมาคมฯ ให้ดำเนินไปตามข้อบังคับ และระเบียบของสมาคม

          (2)  เป็นเจ้าหน้าที่โต้ตอบหนังสือสมาคม และติดต่อสมาชิกและบุคคลภายนอกในกิจการทั่วไป

          (3)  เป็นเลขานุการในที่ประชุม และจดรายงานการประชุม

          (4)  จัดระเบียบวาระการประชุม และเสนอรายงานกิจการของสมาคมต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี และผู้ช่วยเลขานุการสมาคมฯ หน้าที่ ช่วยเลขานุการและเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ งานกิจกรรมอื่นๆ ที่มติที่ประชุม กรรมการ หรือนายกสมาคมฯ มอบหมาย

ข้อ 20  เหรัญญิก  หน้าที่  รับผิดชอบการเงิน การพัสดุ การบัญชีและผู้ช่วยเหรัญญิก  หน้าที่ ช่วยเหรัญญิกรับผิดชอบการเงิน การพัสดุ  การบัญชี

ข้อ 21  ปฏิคม  หน้าที่ อำนวยความสะดวก ต้อนรับสมาชิกและผู้มีเกียรติเนื่องในโอกาสต่างๆ และผู้ช่วยปฏิคม  หน้าที่ ช่วยดำเนินงานของปฏิคม

ข้อ 22  นายทะเบียน  ดำเนินงานจัดทำทะเบียนสมาชิกสมาคม รับและจำหน่ายสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน และผู้ช่วย

นายทะเบียน  หน้าที่  ช่วยดำเนินงานกับนายทะเบียน

ข้อ 23  ประชาสัมพันธ์  หน้าที่  ดำเนินงานประชาสัมพันธ์  จัดทำเอกสารเผยแพร่กิจกรรมของสมาคมและโรงเรียน และผู้ช่วยประชาสัมพันธ์  หน้าที่  ดำเนินงานประชาสัมพันธ์กิจกรรมและนันทนาการ  ต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

 

          หมวดที่ 9

การเลือกตั้งกรรมการและอนุกรรมการ

ข้อ 24  ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารของสมาคมสิ้นลงตามข้อ 29.  ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งนายกสมาคมและกรรมการบริหาร  ตามจำนวนในข้อ 14.

          วิธีการเลือกตั้งนายกสมาคม

          สมาชิกแต่ละคน  มีสิทธิ์เสนอชื่อสมาชิกที่ตนเห็นสมควรเป็นนายกสมาคมได้หนึ่งชื่อ การเสนอชื่อนั้นต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 10 คน  ชื่อที่เสนอไม่จำกัดจำนวน  และให้เลือกจากชื่อเหล่านั้น โดยให้สมาชิกเขียนชื่อลงคะแนน หรือวิธีอื่น ตามที่ประชุมมีมติ เมื่อตรวจนับแล้ว ผู้ได้คะแนนสูงสุด เป็นผู้ที่ได้รับเลือก ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงชี้ขาด ถ้ามีการเสนอชื่อเดียว ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือก

          ประธานในที่ประชุมใหญ่เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหาร ตามข้อความข้างต้นนี้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งประธานขึ้นชั่วคราว โดยเลือกจากสมาชิกที่มีอายุสูงสุดของที่ประชุม ในการตรวจนับคะแนนตามความที่กล่าวมาข้างต้น

ให้เลขานุการคนเก่า เชิญสมาชิกไม่น้อยกว่า 3 คน มาทำการช่วยเหลือ

ข้อ 25  การเลือกตั้งกรรมการอื่นๆ ให้ครบจำนวนตามข้อ 14. ให้นำวิธีเลือกนายกสมาคมตามข้อ 24. มาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การเสนอนั้น ให้มีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 5 คน

ข้อ 26  คณะกรรมการบริหาร อาจเชิญบุคคลใดมาช่วยเหลือกิจการของสมาคม หรือเป็นที่ปรึกษาได้โดยไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคม

          นายกสมาคมมีหน้าที่สับเปลี่ยนหน้าที่กรรมการได้ตามที่เห็นสมควร  และมีอำนาจเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารเป็นกรรมการเจ้าหน้าที่  ซึ่งว่างลงจนครบจำนวน  ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร

ไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการบริหารที่เข้าประชุมและให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งใหม่อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับเวลา

ของผู้ที่ตนแทน

ข้อ 28  คณะกรรมการบริหารของสมาคม อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี  ในกรณีที่มีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่

ให้คณะกรรมการชุดเก่ามอบงานให้แล้วเสร็จในเวลาอันสมควร  ถ้าตำแหน่งนายกสมาคมว่างลงให้คณะกรรมการบริหารเลือกกรรมการบริหารคนหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นเป็นนายกและให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับเวลาที่ตนแทน

ข้อ 29  กรรมการบริหารสมาคม ย่อมสิ้นสุดลงโดย

          (1) ตาย

          (2) ลาออก

          (3) ออกจากวาระ

          (4) ขาดจากสมาชิกภาพตามข้อ 12 (2) และ (3)

 

หมวดที่ 10

การประชุม

ข้อ 30  องค์ประชุมคณะกรรมการบริหาร ต้องมีกรรมการบริหารเข้าประชุมอย่างน้อย 2 ใน 3

ข้อ 31  สมาคมกำหนดเอาวันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยะมหาราชาลัย) เป็นวันที่ระลึกในการก่อกำเนิด  จึงให้มี

การประชุมใหญ่  เพื่อชุมชนสมาชิกในวันดังกล่าวนี้ทุกๆ ปี

ข้อ 32  การประชุมใหญ่แบ่งออกเป็น 2 กรณี

          (1) การประชุมใหญ่ ได้แก่ การประชุมใหญ่ตามปกติในข้อ 31. หรือการประชุมเพื่อดำเนินการตาม

ข้อ 24.

          (2) การประชุมวิสามัญ ได้แก่ การประชุมที่คณะกรรมการบริหารจัดให้มีขึ้น หรือสมาชิกไม่น้อยกว่า

2 ใน 3 ร้องขอจัดให้มีขึ้น  ซึ่งคณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นชอบด้วย

ข้อ 33  ในการประชุมใหญ่ทุกคราว  ต้องมีจำนวนสมาชิกเข้าประชุมไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ในเมื่อสมาชิกประชุมไม่ครบองค์ประชุมในครั้งแรก ก็ให้นัดประชุมใหม่เป็นครั้งที่ 2 ในการประชุม

ครั้งที่ 2  ถ้าสมาชิกมาประชุมถึง 45 คน ให้ถือเป็นองค์ประชุมได้

ข้อ 34  ในการประชุมทุกคราวต้องทำเป็นหนังสือ กำหนดวัน เวลา สถานที่ ระเบียบวาระการประชุม และแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน

ข้อ 35  ในวันประชุมใหญ่ประจำปี ให้คณะกรรมการบริหารแถลงการณ์ดำเนินงานของสมาคม ตลอดจนงบดุล

ให้ที่ประชุมทราบ

ข้อ 36  ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่

          (1) เลือกตั้งนายกและคณะกรรมการบริหารของสมาคม

          (2) พิจารณางบดุล รับ-จ่าย ของสมาคม

          (3) ให้ความเห็นและปรึกษา กิจการทั่วไปของสมาคม

          (4) ตีความเกี่ยวกับข้อบังคับการประชุม

ข้อ 37  การลงมติที่ประชุมใหญ่ ให้ถือเอาเสียงข้างมาก โดยสมาชิกคนหนึ่งมีเสียง 1 เสียง หากคะแนนเสียงเท่ากัน

ให้ประธานชี้ขาดในการลงมติ หากข้อบังคับนี้มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นให้ใช้วิธียกมือ

 

หมวดที่ 11

การเงินละทรัพย์สินของสมาคม

ข้อ 38  การเก็บรักษา ใช้จ่ายเงิน ทรัพย์สินของสมาคม ให้ถือปฏิบัติตามกำหนด ดังนี้

          (1) เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบการเงินของสมาคม ร่วมกับนายกหรืออุปนายก ที่นายกมอบหมายเป็นหนังสือ

          (2) ให้เหรัญญิกทำรายงานเกี่ยวกับการเงิน รายรับ-รายจ่าย และสถานภาพทางการเงิน เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารในการประชุมประจำเดือนทุกครั้ง ถ้าไม่สามารถเสนอได้ในเดือนใดให้แจ้งเหตุผลและจดไว้

ในรายการประชุม

          (3) เงินของสมาคมให้นำไปฝากธนาคารพาณิชย์ ตามมติของคณะกรรมการบริหาร นายกและเหรัญญิก

เก็บรักษาเงินสดไว้ ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการจ่ายเพื่อกิจการหรือกิจกรรม

ของสมาคม

          (4) การอนุมัติสั่งจ่ายเงินของสมาคมต้องมีลายมือชื่อนายกหรืออุปนายกที่นายกมอบหมาย

และลายมือชื่อเหรัญญิกหรือผู้ช่วยเหรัญญิก

          (5) การสั่งซื้อ สั่งจ่าย ต้องมีบันทึกเหตุผลและความจำเป็นและจำนวนเงินนำเสนอขออนุมัติเป็นหนังสือ

และเมื่อได้รับอนุมัติจากนายกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้ว จึงจัดซื้อ จัดจ้างได้ในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ

          (6) อำนาจการอนุมัติการสั่งซื้อ สั่งจ้างหรือสั่งจ่ายเงิน นายกหรือผู้ที่รับมอบหมายครั้งละไม่เกิน

หนึ่งหมื่นบาท ถ้าเกินกว่านี้ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหาร

          (7) การใช้จ่ายเงินของสมาคมต้องมีหลักฐานการจ่ายตามหลักการบริหารการเงิน และการบัญชีที่ดี

และเป็นปัจจุบัน

          (8) ให้คณะกรรมการบริหารแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งจดทะเบียนไว้ตามกฎหมายเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี

ของสมาคมปีละหนึ่งครั้ง

          (9) ให้คณะกรรมการบริหารรับผิดชอบงบดุลประจำปีของสมาคม ถ้าที่ประชุมใหญ่ไม่รับรองให้ถือว่า

คณะกรรมการบริหารสิ้นสุดลงแต่ให้รักษาการต่อไป จนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ แต่ทั้งนี้ต้อง

ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปี

 

หมวดที่ 12

การเลิกสมาคม

ข้อ 39  สมาคมจะเลิกล้มได้โดยมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิก

ที่มาประชุมตามจำนวนที่ลงทะเบียนผู้เข้าประชุมสภาพสมาคมย่อมสิ้นสุดลง โดยคะแนนเสียงจากมติของ

ที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 มีมติให้ยุบ

ข้อ 40  ในการชำระหนี้สิน เมื่อเลิกสมาคมนั้น ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย หากเหลือทรัพย์สินเท่าใด ให้ยกเป็นสิทธิบำรุงการศึกษาแก่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

 

หมวดที่ 13

บทเฉพาะกาล

ข้อ 41  เมื่อข้อบังคับฉบับนี้มีผลเป็นข้อบังคับใช้ให้คณะกรรมการบริหารของสมาคมเป็นคณะกรรมการบริหารต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามข้อบังคับเดิม

ข้อ 42  การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของสมาคม

          (1) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของสมาคมจะกระทำได้โดยมติที่ประชุมใหญ่ของสมาคม

          (2) ผู้ขอเสนอให้แก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของสมาคม ได้แก่ คณะกรรมการบริหารหรือสมาชิก ลงชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่าสามสิบคนเป็นผู้เสนอ

          (3) การเสนอให้ยื่นเสนอต่อนายก อุปนายกหรือเลขานุการพร้อมร่างข้อบังคับที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงและข้อเปรียบเทียบพร้อมทั้งเหตุผลเป็นรายข้อจำนวนเอกสารเท่าจำนวนสมาชิกเพื่อแจกจ่ายให้แก่สมาชิกโดยยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันกำหนดการประชุมใหญ่

          (4) ให้เลขานุการโดยเห็นชอบของนายกสมาคม ทำหนังสือกำหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุมพร้อมทั้งส่งร่างข้อบังคับที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปยังสมาชิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่

          (5) ร่างข้อบังคับที่ประชุมใหญ่ลงมติเห็นชอบ จะมีผลเป็นข้อบังคับโดยสมบูรณ์ใช้บังคับได้เมื่อได้

จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วและเมื่อจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ประกาศให้ทราบ

โดยทั่วกันในขณะที่ร่างข้อบังคับยังมิได้เป็นข้อบังคับโดยสมบูรณ์ให้ใช้ข้อบังคับเดิมไปพรางก่อน

ลงชื่อ                                ผู้จัดทำข้อบังคับ

                                                                                                                                                                               (นายวิทยา   อินาลา)

bottom of page